เว็บบล็อกนี้เป็นเว็บที่รวบรวมผลงานในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา นางสาวเบญจวรรณ ชูโลก อาจารย์อนุวัฒน์ จันทสะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ข่าวเด็ดเกร็ด IT

คนใช้มือถือเฮ! บัตรเติมเงินไม่หมดอายุแล้ว กสทช. สั่งดีเดย์ 18 ม.ค.



กสทช. สั่งค่ายมือถือห้ามกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน ดีเดย์ 18 ม.ค. พร้อมให้ประชาชนที่จะซื้อซิมเติมเงิน ต้องคีย์เลขบัตรประชาชน 13 หลักก่อนซื้อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (14 มกราคม) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้เชิญผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 ราย ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค, บริษัท ทรูมูฟ จำกัด, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มาประชุม เพื่อหาข้อสรุปปัญหาการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า ที่ยังกำหนดระยะเวลาการใช้งานสำหรับให้บริการ หลังพบว่าที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการระบบบัตรเติมเงินมากถึง 70 ล้านเลขหมาย หรือคิดเป็น 90% จากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่รวม 80 ล้านเลขหมาย

ทั้งนี้ หลังจากการหารือ ในที่สุดที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกัน คือ ให้ผู้ให้บริการห้ามกำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงินทุกมูลค่าของบัตร พร้อมกันนี้ ผู้ประกอบการจะต้องส่งข้อมูลเงื่อนไขกำหนดวันหมดอายุที่เหมาะสม เพื่อนำมาเสนอบอร์ด กทค. ต่อไป หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกปรับวันละ 100,000 บาท และอัตราค่าปรับจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2556 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ผู้ที่จะซื้อซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือแบบพรีเพดตามร้านต่าง ๆ จะต้องคีย์หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักระบุลงไปพร้อมกับหมายเลขโทรศัพท์ในระบบเติมเงินที่จะเปิดใช้งาน เพื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ และยังกำหนดให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกเก็บอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศได้ไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ข่าวเด็ดเกร็ด IT

ถึงจุดเปลี่ยน! ปี 58 วงการโทรทัศน์ไทยก้าวสู่ระบบดิจิตอล

     
         ปกติระบบโทรทัศน์บ้านเราเป็นระบบแบบอนาล็อกมาโดยตลอด หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าระบบนี้มันเป็นอย่างไร...ระบบอนาล็อกเป็นระบบทีวีที่แพร่สัญญาณโดยการนำเอาสัญญาณภาพมาผสมกับสัญญาณวิทยุ แพร่ภาพเป็นแบบเอเอ็ม และผสมสัญญาณเสียงเข้ากับคลื่น และแพร่สัญญาณเป็นแบบเอฟเอ็ม ซึ่งใช้ช่องความถี่ตามมาตรฐานในย่าน VHF ขนาด 7 เมกะเฮิรตซ์ และ UHF ขนาด 8 เมกะเฮิรตซ์ ที่ต้องใช้ช่องความถี่กว้างขนาดนี้ เนื่องจากว่าข้อมูลภาพแบบอนาล็อกเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ผิดกับระบบดิจิตอล ที่เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก

           ทั้งนี้ เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์ จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ๒๕๕๕


ยินดีที่ได้รู้จัก



ชื่อ นางสาวเบญจวรรณ  ชูโลก
รหัส ๕๕๘๑๑๑๖๐๐๓
คณะครุศาสตร์   หลักสูตรสังคมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ชื่อเล่น กวาง  อายุ ๑๙ ปี
ที่อยู่ ๘๔  หมู่ ๖  ตำบลนาทราย  อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
Facebook : Benjawan  Choolok