เว็บบล็อกนี้เป็นเว็บที่รวบรวมผลงานในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา นางสาวเบญจวรรณ ชูโลก อาจารย์อนุวัฒน์ จันทสะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ข่าวเด็ดเกร็ด IT

ถึงจุดเปลี่ยน! ปี 58 วงการโทรทัศน์ไทยก้าวสู่ระบบดิจิตอล

     
         ปกติระบบโทรทัศน์บ้านเราเป็นระบบแบบอนาล็อกมาโดยตลอด หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าระบบนี้มันเป็นอย่างไร...ระบบอนาล็อกเป็นระบบทีวีที่แพร่สัญญาณโดยการนำเอาสัญญาณภาพมาผสมกับสัญญาณวิทยุ แพร่ภาพเป็นแบบเอเอ็ม และผสมสัญญาณเสียงเข้ากับคลื่น และแพร่สัญญาณเป็นแบบเอฟเอ็ม ซึ่งใช้ช่องความถี่ตามมาตรฐานในย่าน VHF ขนาด 7 เมกะเฮิรตซ์ และ UHF ขนาด 8 เมกะเฮิรตซ์ ที่ต้องใช้ช่องความถี่กว้างขนาดนี้ เนื่องจากว่าข้อมูลภาพแบบอนาล็อกเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ผิดกับระบบดิจิตอล ที่เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก

           ทั้งนี้ เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์ จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น